Category Archives: บทความน่าสนใจ

กองทุน Gold ETF และนักลงทุนรายย่อยไทยหนุนตลาดทองคำไตรมาสแรกของปี

Gold ETFs and Thai retail investors boost gold market in Q1
รายงานแนวโน้มความต้องการทองคำประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 จากสภาทองคำโลก (World Gold Council: WGC) ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำเพื่อการลงทุนของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่จำนวน 7.4 ตัน  นับเป็นไตรมาสที่ 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดของไทยนับตั้งแต่ปี 2562 ทำให้ความต้องการทองคำภาคผู้บริโภคโดยรวมของไทย ที่ประกอบด้วยปริมาณการลงทุนในทองคำแท่ง และเหรียญทองคำรวมถึงความต้องการทองรูปพรรณในไตรมาสที่ 1 นั้น รวมเป็นจำนวน 9.1 ตัน เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเป็นปริมาณความต้องการทองคำภาคผู้บริโภครายไตรมาส ที่มีการเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ด้านความต้องการทองคำโดยรวมทั่วโลกจากทุกภาคส่วน (ซึ่งรวมถึงการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ หรือ Over-the-counter: OTC) รายไตรมาส อยู่ที่ 1,206 ตัน เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวะที่ราคาทองคำสูงเป็นประวัติการณ์‎และทะลุระดับ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ การฟื้นตัวของกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF) ทองคำแท่งสำหรับนักลงทุน ได้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลให้ระดับความต้องการลงทุนทองคำโดยรวมทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า อยู่ที่ระดับ 552 ตัน 

ราคาทองคำแตะ 3,000 เหรียญสหรัฐ ก้าวต่อไปจะเป็นอย่างไร?

Gold price hits $3,000, what's next?
ราคาทองคำแตะ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 14 และ 17 มีนาคม 2025 อย่างไรก็ตาม ราคาปิดอย่างเป็นทางการจาก London bullion market (LBMA) ในวันจันทร์อยู่ที่ 2,996.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งต่ำกว่าระดับ 3,000 ดอลลาร์เล็กน้อย  โดยเหตุการณ์นี้เป็นที่สนใจอย่างมากในหมู่นักลงทุนและสื่อทั่วโลก เพราะเป็นสัญญาณว่าทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่แข็งแกร่ง และอาจสะท้อนถึงความกังวลของตลาด ในประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือเงินเฟ้อ จอห์น รีด (John Reade) นักกลยุทธ์การตลาดอาวุโส ประจำยุโรปและเอเชีย สภาทองคำโลก (World Gold Council) ให้ความเห็นเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนสำคัญของราคาทองคำว่า “การที่ราคาทองคำทะลุ 3,000 เหรียญสหรัฐฯ นั้น สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยในยามที่ตลาดผันผวน  จากราคา 1,000 เหรียญสหรัฐในช่วงวิกฤตการเงิน สู่ 2,000 เหรียญสหรัฐในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทองคำได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในภาวะที่ตลาดมีความเสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจเทียบเคียงได้กับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ นับตั้งแต่ปี 2514”     จอห์นฯ ยังชี้ให้เห็นว่า

ความต้องการทองคำพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่จำนวน 4,974 ตัน ในปี 2567

ภาพถ่ายทองคำแท่งและเหรียญทอง สภาทองคำโลก
สภาทองคำโลก (World Gold Council:WGC) รายงานความต้องการทองคำ ประจำไตรมาส 4 และภาพรวมปริมาณความต้องการตลอดปี 2024 รวมถึงปริมาณทองคำทั่วโลกนอกตลาดหลักทรัพย์ ‎(OTC) อยู่ที่ 4,974 ตัน โดยในปี 2024 ประเทศไทยมีปริมาณความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ที่จำนวน 39.8 ตันต่อปี คิดเป็นการเติบโตสูงถึง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สภาทองคำโลกระบุว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 2024 นั้น ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องจากธนาคารกลาง และความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน  รวมถึงราคาทองคำที่ทำสถิติสูงสุดหลายครั้งในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการทองคำรวม มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.82 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังคงซื้อทองคำในปริมาณที่มหาศาลอย่างต่อเนื่องในปี 2024 โดยมีปริมาณการซื้อในระดับสูงกว่า 1,000 ตัน เป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยเฉพาะการเข้าซื้อทองคำที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของธนาคารกลางในไตรมาสที่ 4 จำนวน 333 ตัน ซึ่งส่งผลให้ยอดรวมการซื้อทองคำของธนาคารกลางตลอดทั้งปีอยู่ที่ 1,045 ตัน ด้านความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนทั่วโลกนั้นได้เพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ

ทองคำกับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งให้แก่ชาวไทย ในปี 68

ภาพทองคำแท่งและเหรียญทองคำ
ในปัจจุบัน ทองคำยังคงถูกมองว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความผันผวน เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพและมีมูลค่าทางการเงินสูง ส่งผลให้ผู้คนหันมาสนใจสะสมทองคำเป็นทรัพย์สินระยะยาว นอกจากนี้ การซื้อขายทองคำยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการลงทุนที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของคนไทยกับทองคำในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือสังคม ส่งผลให้ตลาดทองคำในประเทศไทยมีความต้องการที่แข็งแกร่ง และยังคงครองตำแหน่งตลาดที่มีการเติบโตสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนติดต่อกันถึงสองไตรมาสในปี 2567  นอกจากนี้ ทองคำยังสามารถส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของทั้งรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก การเข้าถึงบริการทางการเงินนั้นหมายถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ สินเชื่อ ประกันภัย และระบบการชำระเงิน ได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะเมื่อบุคคลและครัวเรือนมีความมั่นคงทางการเงิน ก็จะมีแนวโน้มในการลงทุนหรือเริ่มต้นธุรกิจเพิ่มมากขึ้น  และช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต การเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย รายงาน Global Findex Report ฉบับล่าสุดของธนาคารโลกในปี 2564 ได้ระบุว่า อัตราการเข้าถึงบัญชีธนาคารสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่โดยเฉลี่ยนั้นอยู่ที่ 71% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 77% ซึ่งถือว่าได้พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดิมซึ่งอยู่ที่ 51% ในปี 2554 โดยประเทศไทยมีความก้าวหน้าในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2560 คนไทยจำนวน 82% มีบัญชีธนาคาร และในปี 2564

ความต้องการทองคำของไทยเติบโตต่อเนื่องสูงสุดในอาเซียน ต่อเนื่องสองไตรมาส

สภาทองคำโลก หรือ World Gold Council รายงานความต้องการทองคำ (Gold Demand Trends) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567‎ โดยระบุถึงความต้องการทองคำของผู้บริโภค (Consumer Gold Demand) ในประเทศไทยที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อเนื่องมาสองไตรมาสแล้ว  โดยพุ่งสูงขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณ 14.5 ตัน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ขณะเดียวกัน ปริมาณความต้องการทั่วโลกก็ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีปริมาณความต้องการทองคำทั้งหมด จากทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 1,313 ตัน  แม้ว่าความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกได้ลดลง 9% แต่ความต้องการของประเทศไทยกลับสวนกับทิศทางในระดับโลกและเติบโตเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีจำนวนอยู่ที่ 12.1 ตัน สำหรับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และนับเป็นประเทศที่มีความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสูงเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกในปีนี้ยังคงอยู่ที่ระดับ 859 ตัน ซึ่งถือว่ายังคงเป็นระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปี

5 ลักษณะบุคคลต้องสงสัยในขบวนการฟอกเงิน

ทองคําเป็นทรัพย์สินมีค่า เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และยังสามารถนําทองคำที่ซื้อมาแล้วกลับไปขายคืนเป็นเงินสด ตามร้านค้าทองคำทั่วไป ถือเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงมาก
PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com