Tag Archives: ศูนย์วิจัยทองคำ
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนกรกฎาคม 2560 ปรับลดลง 9.39 จุด หรือ – 15.84 % จากระดับ 59.27 จุด มาอยู่ที่ระดับ 49.88 โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าเป็นผลมาจาก FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่ปรับกรอบราคามาอยู่ที่ 1,200 – 1,280 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 19,000 – 21,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนกรกฎาคม 2560 ปรับลดลง จากเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยปรับลดลงมา จากระดับ 59.27 จุด มาอยู่ที่ระดับ 49.88 ซึ่งลดลง 9.39 จุด หรือ – 15.84 % โดยเป็นครั้งแรกที่ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำปรับลดลงมา อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด นับตั้งแต่เดือน
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนมิถุนายน 2560 ลดลงจากระดับ 62.23 จุด มาอยู่ที่ระดับ 59.27 จุด ปรับลดลง 2.96 จุด หรือ 4.76% โดยกลุ่มตัวอย่างคาดว่ามีโอกาสที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2560 ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่ปรับเพิ่มกรอบราคามาอยู่ที่ 1,221-1,320 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 20,000 -21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนมิถุนายน2560 ปรับลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากระดับ 62.23 จุด มาอยู่ที่ระดับ 59.27 จุด ปรับลดลง 2.96 จุด หรือ 4.76% ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำยังคงสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 50 จุด เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อราคาทองคำที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งปีแรก โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยที่จะสนับสนุนราคาทองคำ ได้แก่ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ความต้องการซื้อทรัพย์สินปลอดภัย
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ 62.23 จุด ปรับลดลง 0.14 จุด จากเดือนเมษายน 2560 หรือปรับลดลง 0.22% โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ ทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และ สถานการณ์ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่ยังมองกรอบราคาใกล้เคียงกับเมื่อเดือน เมษายน ที่ 1,211-1,300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 19,500 -21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับลดลงมาเล็กน้อยจากเดือนเมษายน หรือปรับลดลง 0.14 จุด หรือ -0.22% จากระดับ 62.37 จุด มาอยู่ที่ระดับ 62.23 จุด ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำยังสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 50 จุด เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อราคาทองคำที่ยังคงมีอยู่สูง โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยลบที่ส่งผลต่อราคาทองคำ
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ 62.37 จุด ปรับลดลง 5.68 จุด จากเดือนมีนาคม 2560 หรือปรับลดลง 8.35 % โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ ทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และ การแข็งค่าของเงินบาท ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทองคำไตรมาสที่สองของปี 2560 ปรับเพิ่มขึ้น 1.32 จุด มาอยู่ที่ระดับ 61.35 จุด ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่ยังมองกรอบราคาเดิมที่ 1,211-1,300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 19,500 -21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนเมษายน 2560 ปรับลดลง 5.68 จุด จากเดือนมีนาคม 2560 มาอยู่ที่ระดับ 62.37 จุด หรือปรับลดลง -8.35 % จากระดับ 68.05
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 68.05 จุด ปรับขึ้นมาจากเดือนกุมภาพันธ์ 2560 มาที่ 3.13 จุด หรือปรับขึ้น 4.82 % โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยเชิงบวกที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ นโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยกดดันราคาทองคำยังคงเป็นทิศทางนโยบายทางการเงินของ FED ช่วงกลางเดือน ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่ให้กรอบราคาที่ 1,211-1,300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 20,000 -21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 68.05 จุด ปรับขึ้นมาจากเดือนกุมภาพันธ์ 2560 มาที่ 3.13 จุด หรือปรับขึ้น 4.82 % จากระดับ 64.92 จุด แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อราคาทองที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ราคาทองจะมีความผันผวน โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยเชิงบวกที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ นโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือน ก.พ. 2560 บวกอยู่ที่ระดับ 64.92 จุด ปรับเพิ่มขึ้นมาจากเดือนมกราคม 2560 มาที่ 5.29 จุด หรือปรับขึ้น 8.87 % จากระดับ 59.63 จุด โดยมีปัจจัยสนับสนุนราคาทอง 3 อันดับแรก คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก นโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการอ่อนค่าของเงินบาท ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองคำ โดยให้กรอบราคาที่ 1,161-1,260 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 19,000 -21,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 อยู่ที่ระดับ 64.92 จุด เพิ่มขึ้น 5.29 จุด หรือปรับขึ้น 8.87 % จากเดือนมกราคม 2560 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อราคาทองที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน หลังจากราคาทองคำในตลาดโลกมีสัญญาณในทิศทางบวก โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยเชิงบวกที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ
กรุงเทพฯ-ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือน ม.ค. 2560 บวกแรง 29.59 จุด จากระดับ 30.04 จุด แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในราคาทองคำของนักลงทุนว่ามีแนวโน้มสดใสในช่วงต้นปี 2560 โดยมีปัจจัยสนับสนุนราคาทอง 3 อันดับแรก คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แรงซื้อเก็งกำไร และการซื้อขายตามเทศกาลช่วงปีใหม่และตรุษจีน ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่เชื่อ กรอบราคาทองคำโลกน่าจะฟื้นตัวได้ ให้กรอบราคาที่ 1,111-1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ในกรอบ 19,000 – 20,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ดร. พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนมกราคม 2560 อยู่ที่ระดับ 59.63 จุด โดยราคาทองกลับขึ้นมาเป็นเชิงบวกอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับขึ้นมาจากเดือนที่ผ่านมาที่ 29.59 จุด หรือปรับขึ้นกว่า 98.50% จากระดับ 30.04 จุด ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2559 แสดงให้ห็นถึงความเชื่อมั่นต่อราคาทองที่น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนแรกของปี 2560 โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าปัจจัยเชิงบวกที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ