สภาทองคำโลก (World Gold Council) ระบุในรายงานแนวโน้มราคาทองคำกลางปีว่า ราคาทองคำอาจเคลื่อนไหวในแนวราบ โดยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 0-5% ในครึ่งปีหลัง ราคาทองคำยังคงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้น 26% ในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก รายงานระบุว่า “อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินอยู่ จะช่วยคงความสนใจของนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านกองทุน ETF ทองคำและธุรกรรมซื้อขายนอกตลาด (OTC)” หากภาวะเศรษฐกิจและการเงินทรุดตัวลง ส่งผลให้เกิดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อชะงักงันและความตึงเครียดทางเศรษฐกิจภูมิรัฐศาสตร์ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (safe-haven) อาจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น 10-15% ในทางกลับกัน หากมีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง จะทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง 12-17% ของกำไรในปีนี้ รายงานเสริมว่า ราคาทองคำในตลาดสปอตปรับตัวสูงขึ้น 0.3% อยู่ที่ 3,333.48 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ที่มา: Dow Jones Newswires เรียบเรียง: gold.in.th
Tag Archives: WGC
รายงานแนวโน้มความต้องการทองคำประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 จากสภาทองคำโลก (World Gold Council: WGC) ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำเพื่อการลงทุนของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่จำนวน 7.4 ตัน นับเป็นไตรมาสที่ 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดของไทยนับตั้งแต่ปี 2562 ทำให้ความต้องการทองคำภาคผู้บริโภคโดยรวมของไทย ที่ประกอบด้วยปริมาณการลงทุนในทองคำแท่ง และเหรียญทองคำรวมถึงความต้องการทองรูปพรรณในไตรมาสที่ 1 นั้น รวมเป็นจำนวน 9.1 ตัน เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเป็นปริมาณความต้องการทองคำภาคผู้บริโภครายไตรมาส ที่มีการเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านความต้องการทองคำโดยรวมทั่วโลกจากทุกภาคส่วน (ซึ่งรวมถึงการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ หรือ Over-the-counter: OTC) รายไตรมาส อยู่ที่ 1,206 ตัน เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวะที่ราคาทองคำสูงเป็นประวัติการณ์และทะลุระดับ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ การฟื้นตัวของกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF) ทองคำแท่งสำหรับนักลงทุน ได้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลให้ระดับความต้องการลงทุนทองคำโดยรวมทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า อยู่ที่ระดับ 552 ตัน
สภาทองคำโลก (World Gold Council:WGC) รายงานความต้องการทองคำ ประจำไตรมาส 4 และภาพรวมปริมาณความต้องการตลอดปี 2024 รวมถึงปริมาณทองคำทั่วโลกนอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC) อยู่ที่ 4,974 ตัน โดยในปี 2024 ประเทศไทยมีปริมาณความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ที่จำนวน 39.8 ตันต่อปี คิดเป็นการเติบโตสูงถึง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สภาทองคำโลกระบุว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 2024 นั้น ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องจากธนาคารกลาง และความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน รวมถึงราคาทองคำที่ทำสถิติสูงสุดหลายครั้งในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการทองคำรวม มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.82 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังคงซื้อทองคำในปริมาณที่มหาศาลอย่างต่อเนื่องในปี 2024 โดยมีปริมาณการซื้อในระดับสูงกว่า 1,000 ตัน เป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยเฉพาะการเข้าซื้อทองคำที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของธนาคารกลางในไตรมาสที่ 4 จำนวน 333 ตัน ซึ่งส่งผลให้ยอดรวมการซื้อทองคำของธนาคารกลางตลอดทั้งปีอยู่ที่ 1,045 ตัน ด้านความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนทั่วโลกนั้นได้เพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ
สภาทองคำโลก หรือ World Gold Council รายงานความต้องการทองคำ (Gold Demand Trends) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 โดยระบุถึงความต้องการทองคำของผู้บริโภค (Consumer Gold Demand) ในประเทศไทยที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อเนื่องมาสองไตรมาสแล้ว โดยพุ่งสูงขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณ 14.5 ตัน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ขณะเดียวกัน ปริมาณความต้องการทั่วโลกก็ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีปริมาณความต้องการทองคำทั้งหมด จากทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 1,313 ตัน แม้ว่าความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกได้ลดลง 9% แต่ความต้องการของประเทศไทยกลับสวนกับทิศทางในระดับโลกและเติบโตเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีจำนวนอยู่ที่ 12.1 ตัน สำหรับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และนับเป็นประเทศที่มีความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสูงเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกในปีนี้ยังคงอยู่ที่ระดับ 859 ตัน ซึ่งถือว่ายังคงเป็นระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปี